Categories
News

อาหารผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วย “ตับแข็ง”

อาหารผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วย “ตับแข็ง” ผู้ป่วยตับแข็ง ในระยะที่ตับยังสามารถทำงานได้ดี ควรรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ ตามหลักโภชนาการ และควรรับประทานอาหารพวกโปรตีน ประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือประมาณ 60 กรัมต่อวัน กรณีที่ผู้ป่วยเป็นตับแข็งระยะที่การทำงานของตับไม่ปกติ เช่น อาการตาเหลือง ตัวเหลือง(ดีซ่าน) มีท้องโตขึ้นจากการมีน้ำอยู่ในช่องท้อง(ท้องมาน) ขาบวม มีอาการผิดปกติทางสมอง ซึมลง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะขาดสารอาหารอยู่แล้ว ควรมีจำนวนแคลอรี่ต่อวันมากขึ้น และต้องการสารอาหารโปรตีน ประมาณ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 80 – 90 วันต่อวัน

แต่ปัญหาผู้ป่วยมักกินโปรตีนมากไม่ได้ เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการทางสมอง จึงแนะนำให้กินมากเท่าที่ทนได้ หรือประมาณ 40 กรัมต่อวัน หรือกินอาหารโปรตีนที่ร่างกายสามารถทานได้เพิ่มขึ้น เช่น รับประทานพวกถั่วเหลือเสริม

ผู้ป่วยตับแข็งอาจมีน้ำในช่องท้องจึงควรรับประทานอาหารรสจืด อย่าเติมเกลือหรือน้ำปลามากไป ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟาท็อกซิน ได้แก่พวกถั่วสิสงตากแห้ง พริกป่น ปลาเค็ม เพราะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ งดรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะอาจติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ช็อคและเสียชีวิตได้ ในกรณีที่ตับทำงานไม่ปกติแล้ว ควรรับประทานอาหารวันละ 4 – 7 มื้อ เพราะผู้ป่วยตับแข็ง งดอาหารช่วงกลางคืน 1 คืน จะเท่ากับคนปกติ งดอาหารไป 3 วัน

คำแนะนำการปฏิบัติตนในการรับประทานอาหาร

เวลา มื้ออาหาร
7.00 น. อาหารเช้า
10.00 น. อาหารว่าง
12.00 น. อาหารเที่ยง
15.00 น. อาหารว่าง
18.00 น. อาหารเย็น
21.30 น. อาหารก่อนนอน

อาหารว่างอาจเป็นขนมที่ทำจากถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ใส่ไข่ต้ม โดยกินเฉพาะไข่ขาวหรือเต้าฮวย สาคูน้ำเชื่อม น้ำหวานไม่ผสมสีรับประทานอาหารวิตามินเอ วิตามินอี เพื่อเสริมการขาดวิตามินกลุ่มนี้ แต่ไม่ควรทานมากเกินไป เพราะจะเกิดการสะสมที่ตับ ถ้าผู้ป่วยไม่ขาดธาตุเหล็ก ก็ไม่ควรเสริมธาตุเหล็กเข้า เพราะจะทำให้มีการสร้างพังผืดในตับมากขึ้น งดหรือหลีกเลี่ยง เครื่องดืมแอลกอฮอล์ เพราะเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต