Categories
News

บริการซ่อมบำรุงอาคาร: สาเหตุของปัญหาน้ำรั่วบริเวณฝ้าเพดาน

บริการซ่อมบำรุงอาคาร: สาเหตุของปัญหาน้ำรั่วบริเวณฝ้าเพดาน สำหรับปัญหาการรั่วซึมของน้ำบริเวณฝ้าเพดาน มักมีสาเหตุที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ปัญหาที่เกิดจากการที่ห้องหรือบริเวณที่มีปัญหา ฝ้าเพดานรั่ว ที่เกี่ยวข้องกับห้องที่ติดตั้งระบบประปา ตลอดจนความชื้นโดยตรง

นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการก่อสร้างที่มีมาตรฐาน ช่างเก็บงานไม่ละเอียด ก็ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาดังกล่าวนี้ได้ ซึ่งสาเหตุของปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณฝ้าเพดาน ขอสรุปแบบคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

1. ระบบท่อประปาชำรุด

ปัญหาท่อประปาบริเวณฝ้าเพดาน เกิดขึ้นจากทั้งท่อน้ำดีและท่อระบายน้ำทิ้ง ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็คือ การติดตั้งท่อน้ำทิ้งที่ไม่ดี จนส่งผลให้น้ำไหลทิ้งบริเวณด้านนอก เพราะฉะนั้น หากพบว่าที่บ้านมีปัญหาน้ำรั่วบนฝ้าเพดานแล้ว ควรตรวจสอบจุดนี้เป็นลำดับแรก ๆ ก่อนลงมือซ่อมเพดานน้ำรั่ว

2. การติดตั้งสุขภัณฑ์ที่ไม่ดี และไม่ได้มาตรฐาน

สำหรับการติดตั้งโถสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ฝ้าเพดานรั่ว ที่เกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะการติดตั้งโถสุขภัณฑ์ ที่ไม่ตรงกับรูท่อที่เจาะลงพื้น จนทำให้การระบายน้ำทิ้งทำได้ไม่ดี สุดท้ายแล้วจึงทำให้เกิดการรั่วซึมบริเวณชั้นล่างตามมา

3. การติดตั้งข้อต่อของท่อระบายน้ำไม่เรียบร้อย

อีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดน้ำรั่วบนฝ้าเพดานนั้น ก็คือ เรื่องตำแหน่งของท่อระบายน้ำ ซึ่งก็นับว่าเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะการติดตั้งตะแกรงระบายน้ำทิ้ง ที่อาจเจาะและติดตั้งไม่ดี ส่งผลให้ข้อต่อของท่อระบายน้ำไม่พอดีกัน แล้วนำมาสู่เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมไปยังห้องด้านล่าง และมีคราบน้ำบริเวณฝ้าเพดานอย่างเห็นได้ชัด

4. การทำกันซึมที่ไม่ดี

สาเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุด ที่ทำให้ ฝ้าเพดานรั่ว นั่นก็คือ การทำกันซึมก่อนปูกระเบื้องที่ไม่ดี และไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างพื้นและผนังของห้องน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ที่ก่อให้เกิดการรั่วซึมของฝ้าเพดาน เพราะฉะนั้น จะต้องเลือกกันซึมที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

5. ปูกระเบื้องได้ไม่ดี หรือปูผิดวิธี

สำหรับปัญหาการปูกระเบื้องที่ไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้มีปัญหา ฝ้าเพดานรั่ว มักมีสาเหตุมาจากช่างที่ทำการก่อสร้าง หรือปูกระเบื้องมาตั้งแต่แรก ๆ โดยเฉพาะการปูกระเบื้องแบบซาลาเปา ที่จะต้องนำกาวซีเมนต์ไปทาลงบนบางส่วนของแผ่นกระเบื้อง สุดท้ายแล้วก็ส่งผลให้ตัวกระเบื้องมีช่องว่าง จนทำให้มีความชื้นและน้ำไปสะสม ท้ายที่สุดแล้วก็ส่งผลให้กระเบื้องหลุดร่อน ระเบิด หรือโก่งตัว จนนำมาสู่ปัญหาน้ำซึมและน้ำรั่วตามมา